วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556


วันที่ 6กุมภาพันธ์ 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204
                                                                       08.30-12.20 น
   ครั้งที่14

เนื้อหาที่เรียน

หน่วยการเรียน

  1. คณิตศาสตร์
  2. วิทยาศาสตร์
  3. ภาษา                                = ด้านร่างกาย
  4. ความคิดสร้างสรรค์       = ด้านอารมณ์
  5. สังคม                                = ด้านสังคม                   = คิดสร้างสรรค์           =  ศิลปะ
  6. คุณธรรม                          = ด้านสติปัญญา           = ความคิด                    = เหตุผล            = วิทยาศาสตร์
  7. จริยธรรม                          = ภาษา                           = คณิตศาสตร์
  8. กาย








วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556


วันที่ 30 มกราคม 2556

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.

ครั้งที่ 13

          เนื้อหาสาระ

การระดมความคิดของปฐมวัย

- นิทานเวที
- นิทรรศการสื่อ
- เล่นดนตรี
- ร้องเพลง
- เล่านิทาน
- เล่นเกม
- รำ
- งานศิลปะ
- เต้น

1.การสอนเด็กต้องสอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก / เรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก
2.ประสบการณ์  คือ ต้องลงมือกระทำ เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้
3. การนับหรือการเรียง  ต้องเรียงจากซ้ายไปขวา เพื่อที่จะให้เด็กมีประสบการณ์เป็นพื้นฐานในการจำ
4.การวางตัวเลขจะวางไว้หน้าคำหรือหลังคำก็ได้แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกัลคำนั้นๆ
5.ดูตามภาพ ค่ะ
6.การแยก     เป็นพื้นฐานของการลบ
7.การรวม     เป็นพื้นฐานของการบวก
8.ภาษา/คณิตศาสตร์    เป็นเครื่องมือที่พัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์
9.ถ้าเด็กยังไม่มีการลงมือกระทำ  แสดงว่า จะเป็นแค่เพียงการรับรู้เท่านั้น
    
       ร้องเพลง
      เล่านิทาน     =    3  อย่านี้สามารถใช้ร่วมกันในการเล่านิทานได้
      เต้น
โอกาสที่เด็กจะทำได้มีสูง  เพราะเด็กสามารถทำเป็นประจำได้  และการลงมือกระทำมีสิทธิ์ที่จะประสบความสำเร็จดีมาก 
10.เครื่องมือที่การวัดที่เป็นทางการ  ไม่ควรนำม่ใช้กับเด็ก  เช่น  ไม้บรรทัด
11.ควรใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการ  เช่น  คืบ  ฝ่ามือ     
12.สรุปจากตาราง
        - สาระที่ 2 การวัด  มาตรฐาน  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดและความยาว
        - สาระที่ 3 เลขาคณิต   มาตรฐาน  รู้จักตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปทรง 
        - สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น   มาตรฐาน  การนำเสนอข้อมูล / การรวบรวมข้อมูล
13.ดูภาพ

สิ่่งที่เด็กต้องรู้
  บางอย่างต่างกัน  บางอย่างเหมือนกัน เด็กจึงต้องลงมือกระทำ


วันที่ 23 มกราคม  2556

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.

ครั้งที่ 12

กิจกรรม

สมาชิกในกลุ่ม


  • นางสาวฐิตืมา ขาวพิมล
  • นางสาววศินี อินอ่อน
  • นางสาวอัจฉรียา พุทธานุ









วันที่ 16 มกราคม 2556

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.

ครั้งที่ 11

   *****  หมายเหตุ

                        วันนี้เป็นวันครูแห่งชาติ  อาจารย์ให้เข้าไปร่วมกิจกรรมในห้องประชุมศูนย์ครู  ที่ตึกคณะศึกษาศาสตร์




วันที่ 2 มกราคม 2556

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.

ครั้งที่ 9

ส่งงานที่อาจารย์มอบหมายให้
ดิฉันคู่กับ  นางสาวอัจฉรียา พุทธานุ

ขณะกำลังทำสื่อ






วันที่  26 ธันวาคม  2555

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.

ครั้งที่ 8


  *** หมายเหตุ
                   
                     ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นการสอบกลางภาค














วันที่ 19 ธันวาคม  2555

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.

ครั้งที่ 7

 - อาจารย์ให้ส่งวงกลม


- อาจารย์บอกว่าถ้าจะใช้อย่างอื่นนอกจากกระดาษลัง  แล้วสามารถใช้ประโยชน์แทนกันได้  ถือว่านักศึกษามาความคิดสร้างสรรร
- การใช้กระดาษสีมาติดบนกล่องกระดาษ  ทำให้รูปทรงมีมิติมากยิ่งขึ้น

เนื้อหา/สาระ

1. ตัวชี้วัด  = สากล  คุณภาพ  เกณฑ์การประเมิน  เป็นที่ยอมรับ  ตัววัดผล

ในชีวิตประจำวัน  คำว่า มาตรฐาน  อยู่ไหนบ้าง

- การสอน  โรงเรียน  สินค้า
      มาตรฐาน  คือ  ขั้นต่ำของคุณภาพ / เกณฑ์ขั้นต่ำ
- มาตรฐาน  เป็นเรื่องสำคัญมาก
     คณิตศาสตร์/ภาษา  =  เป็นเครื่องมือ ในการเรียนรู้  ในชีวิตของการคิด  การอธิบาย  การสื่อสาร

2. กรอบ = กฎเกณฑ์  ข้อจำกัด  ขอบเขต

- ศัตรูที่ขัดต่อความคิดสร้างสรร คือ  ความเชื่อมั่น
- ปัจจัยที่ขัดต่อความคิดสร้างสรร  คือ  ตัวครู  

กรอบมาตราฐาน  โดย  สสวท.

1.การนับ = เป็นฐานของการบวก
2.การวัด = การใช้เครื่องมือเพื่อหาค่า/ปริมาณ
3.เลขาคณิต = รูปทรงมิติ  เช่น  ทรงกลม
4.พีชคณิตศาตร์ = ความเข้าใจแบบรูป/ความสัมพันธ์
       เช่น  2 4 6 8 ...   เพราะว่ามีแบบรูปเพิ่มมาทีละ 2
การที่จะหาความสัมพันธ์ได้  คือ  การใช้เหตุผล
5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น = การรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับจำนวน/ความรู้  แล้วนำเสนอ


งานที่รับมอบหมาย

หารูปที่่มีรูปทรงกลม  แล้ววาดลงกระดาษแข็ง ขนาดเท่ากับA4 เพื่อประดิษฐ์เป็นสื่อ

วันที่ 12 ธันวาคม   2555

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.

ครั้งที่ 6

 - อาจารย์ให้ส่งงาน  แล้วถามแต่ละคู่ว่างานที่ทำได้อย่างไรบ้าง

กิจกรรม

 - อาจารย์ให้เดินออกไปหยิบกล่องคนละ 1 ใบ 

จากนั้นจับกลุ่ม  10 คน  แล้วให้นักศึกษาต่อรวมกันเป็นอะไรก็ได้

 - กลุ่มของฉันทำเป็นหุ่นยนต์





- นำสิ่งที่นักศึกษาทำมารวมกันทั้งหมดแล้วสร้างเป็นเมือง

งานที่รับมอบหมาย

 - ตัดกล่องกระดาษ

   เส้นผ่าศูนย์กลาง  1 นิ้ว /1.5 นิ้ว /2 นิ้ว  อย่างละ  3 สี  เขียว  เหลือง  ชมพู


วันที่ 5  ธันวาคม  2555

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.

ครั้งที่ 5

         
    ***  หมายเหตุ

                        ไม่มีการเรียนการสอน   เนื่องจากตรงกับวันพ่อ



วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 4

-อาจารย์เข้าสอนสาย เนื่องจากไปเข้าร่วมเปิดงานที่โรงเรียนสาธิต
-พูดถึงเรื่องขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

(นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)


  1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น นับ 1-10 หรือมากกว่านั้น การนับเพื่ออยากรู้จำนวน
  2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวันให้เด็กได้เล่น ของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและิคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนหรืออาจเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนค่าจำนวนลำดับ ตัวเลขฮินดูอารบิก
  3. การจับคู่ (Matching) ให้เด็กฝึกฝนลักษณะต่างๆ แล้วจับคู่เข้ากันเหมือนอยู่ประเภทเดียวกัน จับคู่จำนวนเท่ากัน จับคู่ภาพเหมือนตัวเลข จับคู่รูปทรง
  4. การจัดประเภท (Classificaton) จัดเป็นหมวดหมู่และต้องกำหนดเกณฑ์ ปฐมวัยสร้างแค่เกณฑ์เดียว
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เพื่อให้เด็กรู้ค่า เช่น สั้น-ยาว หนัก-เบา กว้าง-แคบ
  6. การจัดลำดับ (Ordering) ให้เด็กจัดสิ่งของเป็นชุดๆตามสั่ง
  7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shage and space) มีปริมาตร เนื่อที่และมิติ
  8. การวัด (Measurment) ให้เด็กได้ลงมือวัดซึ่งการวัดให้ได้ค่าได้จำนวน
  9. เซต (Set) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ให้รู้จัดชุดเครื่องครัว ชุดแต่งตัว มีประสบการณ์สร้างให้เด็กเกิดมโนทัศน์
  10. เศษส่วน (Fraction) การแบ่งครึ่ง แบ่งให้เท่ากัน ต้องนับและดึงออกทีละชิ้น ในเศษส่วนต้องมีคำว่า "ครึ่ง" "ทั้งหมด"
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) รูปทรง ตัวเลข เส้น ฝึกให้เด็กฝึกฝนตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservating) ให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง เด็กตอบตามที่ตาเห็นและตอบโดยไม่มีเหตุผล ยังเอาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้

(เยาวพา เดชะคุปต์.2542:87-88)


  1. การจัดกลุ่มหรือเซต คือ การจับคู่ 1:1 
  2. จำนวน คือ 1-10 หรือจำนวนคู่ คี่
  3. ระบบจำนวน คือ ชื่อของตัวเลข
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากกการรวมกลุ่ม คือ การรวมกลุ่มและการแยก
  6. ลำดับที่ แสดงถึงจำนวน ปริมาณ เช่น มาก-น้อย สูง-ต่ำ
  7. การวัด วัดของเหลว เงินตรา อุณหภูมิ
  8. รูปทรงเลขาคณิต คือให้เด็กเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาดและระยะทาง
  9. สถิติและกราฟ เป็นตัวหนึ่งในการนำเสนอทำแผนภูมิ


ที่ 14 พฤศจิวันกายน  2555
วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.

ครั้งที่ 3

       วันนี้อาจารย์ให้เข้ากลุ่มทำงานวิเคราะห์ข้อมูล

กิจกรรม

1.ความหมายของคณิตสาสตร์
                คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเลข การคำนวณ ปริมาตร สัดส่วนต่างๆๆ  รวมถึงการคำนวณตัวเลขในชีวิตประจำวัน ที่ใช้ในการคำนวณ มีการใช้สัญลักษณ์ แทนค่า ต่างๆ และคณิตศาสตร์มีโครงสร้างที่แน่ชัด
อ้างอิง
ฉวีวรรณ  กีรติกร.”หน่วยที่ แนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา” เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่ม        ทักษะ 2 (คณิตศาสตร์) หน่วยที่ 1-2.พิมพ์ครั้งที่ 3 อรุณการพิมพ์,2539.
มาร์เชล สโตน
2.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
                เน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบ  และเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนสนใจ และการเรียนการสอนจะเน้นเชิงพฤติกรรมมากกว่า โดยที่คุณครูจะเน้นแนะนำหรือชี้แจง  คุณครูจะต้องวิเคราะห์พื้นฐานของเด็กแต่ละคน  เพื่อที่จะไปพัฒนาผู้เรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง
แกญเย
3.ขอบข่าย
                ความรู้เบื้องต้น  เกี่ยวกับ จำนวนเต็มและขั้นตอนของยุคลิก จะรวมถึงเรื่องของการหารลงตัว และเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และสถิติ  ซึ่งเป็นเรื่องของสถิติ และการใช้คณิตศาสตร์ทั่วๆไป
อ้างอิง
-ทฤษฎีจำนวน , ชื่อผู้แต่ง ปิยวดี  วงษ์ใหญ่ , เลขเรียกหนังสือ 512.7  36ท ฉ.5
-คณิตศาสตร์และสถิติ Mathematics and statistics , ชื่อผู้แต่ง อาจารย์กิ่งพร  ทองใบ , ปีที่พิมพ์2532
4.หลักการสอนคณิตศาสตร์
วิธีการสอนแบบสาธิต
                หมายถึง วิธีการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ผู้เรียนดูผู้สอนอาจจะให้ความรู้แก่ผู้เรียนโดยใช้สื่อ การสอนที่เป็นรูปธรรม และผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ตรง
                                                        วันที่ 14 พฤศจิกายน  2555

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.
ครั้งที่ 2
  
          กิจกรรม

1.อาจารย์ให้วาดรูปสัญลักษณ์ของตัวเองลงในกระดาษพร้อมชื่อ  แล้วให้ไปแปะบนกระดานซึ่งอาจารย์  กำหนดเกณฑ์ ขึ้นมาว่าใครมาก่อน 08.30 น. ให้เอาไปแปะไว้หน้าเส้น






จากการที่นำแผ่นกระดาษไปแปะบนกระดานสามารถรู้ถึงเรื่อง  จำนวน / แยกประเภท / แยกหมวดหมู่ / จำนวนแถว  /ขนาด / รูปร่าง 

    ตั้งคำถามจากสิ่งที่เห็น คือ 
 1.จำนวนเท่าไหร่
 2.นับ 
 3.คำตอบ คือ คนที่มาก่อน 08.30 น. มี 19 คน 
   - ใช้เลขฮินดูอาราบิกมาแทนค่าจำนวนคือ  19 

   เลขฮินดูอาราบิกใช้ไว้  แทนค่า  จำนวน
   ฐานของเลข คือ หลักสิบ

  - เวลานับเลขต้องอ่านจากซ้ายไปขวา

2.จากข้อที่ อาจารย์ให้ไปแก้ไขกระดาษที่แปะบนกระดานให้เรียงเป็นแถวล่ะสิบ

  - นับบวก เป็นพื้นฐานของ การเพิ่ม
  - บับลบ  เป็นพื้นฐานของ การลด

            สัญลักษณ์แทนตัวเลข

    1 = เสาธง
    2 = คอห่าน
    3 = ตัวหนอน
    4 = หลังคาบ้าน
    5 = แอปเปิ้ลครึ่งลูก
    6 = คนตีลังกาเท้าชี้ฟ้า
    7 = ไม้เท้า
    8 = ไข่ ฟอง
    9 = คนยืนตรง

     งานที่มอบหมาย

 - ไปห้องสมุดหาหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  หาปี พ.ศ. / ชื่อผู้แต่ง / ชื่อหนังสือ / เลขรหัสของหนังสือ
 - หาความหมายของคณิตศาสตร์ คน  พร้อมกับเอาข้อมูลอ้างอิงมาด้วย
 - ทฤษฎีการสอน
 - ขอบข่ายหรือเนื้อหาของคณิตศาสตร์
 - หลักการสอนคณิตศาสตร์          
                                                             วันที่ 7 พฤศจิกายน  2555

วิชา  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยEAED2204
08.30 น.
ครั้งที่ 1 

    ข้อตกลงในการเรียนวิชานี้
- เข้าเรียนในเวลา 9.00 น. เข้าเรียนเกิน 9.00 น .  ถือว่า สาย  แต่เข้าเกินเวลา 9.15 น. ถือว่าขาด
-ห้ามใส่เสื้อแขนยาว  ถ้าใส่จะปิดแอร์แล้วเปิดหน้าต่างในการเรียนการสอนทุกครั้ง
-ห้มใส่ชุดพละ

     วันนี่อาจารย์บอกแนวการสอนและวิธีการสอน  อาจารย์จะปล่อนก่อนเวลา 40 นาที  เพื่อให้นักศึกษาไปสรุปใจความสำคัญลงในบล็อกของตัวเอง   อาจารย์จะคอมเม้นงานตอนที่งานเสร็จแล้วเท่านั้น

กิจกรรม

1. อาจารย์ให้เขียนประโยคจำนวน 1 ประโยค เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าในความคิดและความเข้าใจของเรานั้น  หมายความว่าอย่างไร
2.อาจารย์ให้ว่าเราคาดหวังอะไรกับวิชานี้บ้าง

ความแตกต่างระหว่างคำ 2 คำนี้

การสอน = ครูเตรียม  ครูบอก  บรรยาย  ศึกษานอกสถานที่  การสอนนั้นเป็นกระบวนการที่ชัดเจนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์  คือ  
                       1.วางแผน 
                       2.วัตถุประสงค์
                       3.ขั้นตอน
                       4.ประเมิน  ว่าเด็กบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่
จัดประสบการณ์ = เราไม่คาดหวังว่าทุกคนจะเดินไปถึงเส้นในเวลาพร้อมกันโดยวิธีเดียวกัน เพราะว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย  และบางคนอาจจะไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามเวลาก็ได้

กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

   1.เสรี  ( มุมบทบาทสมมติ )
   2.เคลื่อนไหวและจังหวะ
   3.ศิลปะสร้างสรรค์
   4.เกมการศึกษา
   5.เสริมประสบการณ์  ( วงกลม )
   6.กลางแจ้ง  ( เครื่องเล่นสนาน)