วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556


วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 2204

เวลา 08.30 - 12.20 น.


ครั้งที่ 4

-อาจารย์เข้าสอนสาย เนื่องจากไปเข้าร่วมเปิดงานที่โรงเรียนสาธิต
-พูดถึงเรื่องขอบข่ายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

(นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)


  1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น นับ 1-10 หรือมากกว่านั้น การนับเพื่ออยากรู้จำนวน
  2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวันให้เด็กได้เล่น ของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและิคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนหรืออาจเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แทนค่าจำนวนลำดับ ตัวเลขฮินดูอารบิก
  3. การจับคู่ (Matching) ให้เด็กฝึกฝนลักษณะต่างๆ แล้วจับคู่เข้ากันเหมือนอยู่ประเภทเดียวกัน จับคู่จำนวนเท่ากัน จับคู่ภาพเหมือนตัวเลข จับคู่รูปทรง
  4. การจัดประเภท (Classificaton) จัดเป็นหมวดหมู่และต้องกำหนดเกณฑ์ ปฐมวัยสร้างแค่เกณฑ์เดียว
  5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เพื่อให้เด็กรู้ค่า เช่น สั้น-ยาว หนัก-เบา กว้าง-แคบ
  6. การจัดลำดับ (Ordering) ให้เด็กจัดสิ่งของเป็นชุดๆตามสั่ง
  7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shage and space) มีปริมาตร เนื่อที่และมิติ
  8. การวัด (Measurment) ให้เด็กได้ลงมือวัดซึ่งการวัดให้ได้ค่าได้จำนวน
  9. เซต (Set) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ให้รู้จัดชุดเครื่องครัว ชุดแต่งตัว มีประสบการณ์สร้างให้เด็กเกิดมโนทัศน์
  10. เศษส่วน (Fraction) การแบ่งครึ่ง แบ่งให้เท่ากัน ต้องนับและดึงออกทีละชิ้น ในเศษส่วนต้องมีคำว่า "ครึ่ง" "ทั้งหมด"
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) รูปทรง ตัวเลข เส้น ฝึกให้เด็กฝึกฝนตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservating) ให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง เด็กตอบตามที่ตาเห็นและตอบโดยไม่มีเหตุผล ยังเอาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้

(เยาวพา เดชะคุปต์.2542:87-88)


  1. การจัดกลุ่มหรือเซต คือ การจับคู่ 1:1 
  2. จำนวน คือ 1-10 หรือจำนวนคู่ คี่
  3. ระบบจำนวน คือ ชื่อของตัวเลข
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ
  5. คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากกการรวมกลุ่ม คือ การรวมกลุ่มและการแยก
  6. ลำดับที่ แสดงถึงจำนวน ปริมาณ เช่น มาก-น้อย สูง-ต่ำ
  7. การวัด วัดของเหลว เงินตรา อุณหภูมิ
  8. รูปทรงเลขาคณิต คือให้เด็กเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาดและระยะทาง
  9. สถิติและกราฟ เป็นตัวหนึ่งในการนำเสนอทำแผนภูมิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น